เรื่องราวของเมืองใหญ่ใช่มีเพียงตึกสูง รถติด อากาศเป็นพิษเท่านั้น ยังสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อาศัยเติบโต ดำรงอยู่ ขยายเผ่าพันธุ์ ไปพร้อมๆ กับการขยายตัวของเมือง บางชนิดอาจจะแพ้และหายไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่บางชนิดกลับเพิ่มจำนวนได้.......การปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญทั้งคนและสัตว์

ภาพนกชนิดใหม่ที่พบในประเทศไทย
ปรับปรุงล่าสุด : : 23 กันยายน 2552

 
ข้อมูลภาพจาก http://www.orientalbirdimages.org

ข้อมูลจาก
http://www.bcst.or.th/bcst2008/activity/brc_t_2008.htm
http://www.birdgang.org/board/index.php?topic=309.0

http://noktawan.multiply.com/reviews/item/8

 
นกชนิดใหม่ในประเทศไทย

เป็ดหางยาว Long-tailed Duck
พบนกตัวผู้ปีแรก เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (ดาวรุ่ง ดามลามาจักร, มิค เดวี่ส์ และเดฟ ซาเจนท์) จนถึงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (บุญพบ กันศรีเวียง) โดยก่อนหน้านั้นมีหลายคนพบมาตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แต่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้       

นกกระทาดงมลายู Campbell's Hill-Partridge
พบ ๑ ตัว บนภูเขาในป่าฮาลา ระดับความสูง ๑,๒๐๐ เมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๖ กันยายน ๒๕๔๓ โดยพี่อุทัย ตรีสุคนธ์ และพี่ติ๊ก โศพิชญ์ชา ตันติธาดาพิทักษ์

นกแว่นภูเขา Mountain Peacock Pheasant

เก็บและถ่ายภาพขนของนกตัวผู้ได้ ๑ อัน บนภูเขาในป่าฮาลา ระดับความสูง ๑,๒๐๐ เมตร เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๔ โดย ฉัตรชัย ธนูพราน และ วัชระ สงวนสมบัติ และเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๕ ฟิลลิป ดี.ราวด์ และ วัชระ สงวนสมบัติ ได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้ในป่าเดียวกัน จึงยืนยันได้แน่นอนว่าพบนกชนิดนี้ในประเทศไทย

ห่านเทาปากสีชมพู Greylag Goose

เป็ดมัลลาร์ด Mallard

ห่านคอขาว Swan Goose


เป็ดเปียหน้าเหลือง Baikal Teal

เป็ดดำหลังขาว Greater Scaup
พบ ๑ คู่ ในทะเลสาบเชียงแสน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ โดย H. Galbraith และ P. Thompson

เป็ดปากยาวข้างลาย Scaly-sided Merganser
รายงานการพบครั้งแรกที่ลำน้ำแม่กลาง ดอยอินทนนท์

นกโพระดกหนวดแดง Fire-tufted Barbet

พบที่ฮาลาและป่าบาลาของจังหวัดยะลาและนราธิวาส

นกโพระดกคิ้วดำ Black-browed Barbet

พบที่ฮาลาและป่าบาลาของจังหวัดยะลาและนราธิวาส..

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว Brown Hornbill
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกเงือกสีน้ำตาล Rusty-cheeked Hornbill )  

นกคัดคูขาวดำ Pied Bronze-Cuckoo

นกคัดคูเหยี่ยวพันธุ์มลายู Malayan Hawk Cuckoo
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกคัดคูเหยี่ยวอกแดง Hodgson’s Hawk Cuckoo Hierococcyx nisicolor ) 

นกกะปูดนิ้วสั้น Short-toed Coucal  


นกแสกทุ่งหญ้า Grass Owl

พบที่แอ่งเชียงแสน จ. เชียงราย นกประจำถิ่นหายากชนิดนี้คาดการณ์มานานแล้วว่าน่าจะพบได้ในประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน จนกระทั่งมีการถ่ายภาพนกแสกทุ่งหญ้าขณะบินอยู่เหนือหนองหล่ม อ. แม่จัน จ. เชียงราย โดยชัยวัฒน์ วงศ์ไชย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หลังจากนั้นได้มีการสำรวจพบอีกอย่างน้อย ๓ แห่งในแอ่งเชียงแสน รวมทั้งพบการทำรังวางไข่ด้วย (ไชยยันต์ และคณะ 2008)  

นกกระเรียนเล็ก Demoiselle Crane

นกกระเรียนพันธุ์ยุโรป Common Crane

พบ ๑ ตัว ที่จอทองดำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ โดย บรูซ เคคูลี (Bruce Kekule) แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นนกชนิดใด ซึ่งได้รายงานให้ ฟิลลิป ดี. ราวด์ ทราบเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ จนกระทั่งวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ สุรสิทธิ์ อุ่ยเจริญ และ อรุณวรรณ วิสุทธิ์เสรีวงศ์ ได้เดินทางไปดูนกที่จอทองดำ พร้อมกับ บุญพบ กันศรีเวียง เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ จึงบอกได้ว่าเป็นนกกระเรียนยุโรป และนกกระเรียนตัวนี้ยังอยู่ที่เดิมต่อมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔

นกลอยทะเลสีแดง Red Phalarope
พบ ๑ ตัว หากินอยู่กับนกลอยทะเลคอแดงอีก ๔ ตัว ที่บ้านปากทะเล อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี (จอห์น ไรท์) เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มีภาพถ่ายที่เห็นรายละเอียดชัดเจนประกอบรายงานการพบ

นกชายเลนปากงอน Pied Avocet

นกหัวโตเล็กขาสีส้ม Common Ringed Plover

นกหัวโตขายาว Oriental Plover

นกนางนวลปากเหลือง Mew Gull
พบและถ่ายภาพได้ ๑ ตัว เกาะอยู่บนปลายหัวเสาปะปนกับนกนางนวลธรรมดา(Brown-headed Gull) และนกนางนวลปากเรียว (Slender-billed Gull) ทางด้านขวาของสะพานสุขตา สถานตากอากาศบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. โดย วัชระ สงวนสมบัติ สุธี ศุภรัฐวิกร โศพิชญ์ชา ตันติธาดาพิทักษ์ แกรม ไรท์ (Graeme Wright) และคณะ หลังจากนั้นนกได้บินไปแย่งกินกากหมูกับนกนางนวลธรรมดา บนหาดโคลน ทางด้านซ้ายของสะพานสุขตา แล้วบินไปลงพักผ่อนที่หาดโคลนไกลออกไปหน่อย ก่อนบินหายไปในฝูงนกนางนวลธรรมดา และนกตัวนี้ยังอยู่ให้เห็นจนถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

นกนางนวลพันธุ์มองโกเลีย Mongolia Gull
มีรายงานนกในชุดขนฤดูหนาวปีแรกจากภาพถ่ายโดยวัชระ สงวนสมบัติ ที่แหลมผักเบี้ย เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับการยืนยันจำแนกชนิดโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การพบครั้งนี้น่าจะเป็นรายงานแรกในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการตีพิมพ์

นกนางนวลหลังดำเล็ก Lesser Black-backed Gull


นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย Heuglin’s Gull  

นกนางนวลหลังเทา Slaty-backed Gull
มีการพบและถ่ายภาพนกชุดขนฤดูหนาวปีแรกได้ ๑ ตัว ที่บางปู จ. สมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ (ปรเมษฐ์ ดุษปิยะ) ต่อมาพบและถ่ายภาพนกชุดขนเก่าของฤดูหนาวปีแรก ที่แหลมผักเบี้ย เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (ปีเตอร์ อิริคสัน) และวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (อเล็กซ์ ฟากัส) ได้รับการยืนยันจำแนกชนิด โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ, ส่วนอีกรายงาน เป็นนกชุดขนฤดูหนาวปีแรกที่เก่ามาก ถ่ายภาพได้จาก แหลมผักเบี้ยเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ (จอห์น สเตอริ่ง) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ ว่าจะเป็นนกนางนวลหลังเทา แต่ก็ยังไม่มั่นใจ ๑๐๐% เนื่องจากขนเก่าซีดมาก มีหลายจุดที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน

นกนางนวลเล็ก Little Gull

นกคิตติเวกขาดำ Black-legged Kittiwake
คุณสาทิพย์ ทองนาคโคกกรวด พบนกชนิดนี้ในช่วงปีแรกหนึ่งตัวที่บางปู จ.สมุทรปราการเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ มีการถ่ายภาพไว้ด้วย

อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย Himalayan Griffon


เหยี่ยวทุ่งพันธุ์ยูเรเซีย Western Marsh Harrier

แยกออกมาจากชนิดหลักเหยี่ยวทุ่งพันธุเอเชียตะวันออก Eastern Marsh Harrier Circus spilonotus

เหยี่ยวทุ่งสีจาง Pallid Harrier
พบ ๑ ตัว เป็นนกตัวผู้ ขณะบินผ่านไปเหนือควนขี้เสี้ยน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ โดย สุกัญญา ถนอมพุธ และ ทัดตา ขจิตวิวัฒน์

นกอินทรีทุ่งหญ้าสเต็ปป์ Steppe Eagle  

เหยี่ยวเมอร์ลิน Merlin

นกเป็ดผีคอดำ Black-necked Grebe

พบ ๑ ตัว ที่บึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐-วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (สถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด)

นกร่อนทะเลหางแดง Red-tailed Tropicbird

นกบู๊บบี้ตีนแดง Red-footed Booby


นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย Indian Pond Heron

นกจมูกหลอดหางพลั่ว Wedge-tailed Shearwater

พบ ๑ ตัว นอนอยู่ในนาเกลือ ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๓ โดย สุชาติ แดงพยนต์ แต่ขณะนั้นยังจำแนกชนิดไม่ได้ จนกระทั่งในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๓ เมื่อ ฟิลลิป ดี ราวด์ (Philip D. Round) ได้มาเห็นนกตัวนี้ จึงจำแนกได้ว่าเป็นนกชนิดนี้และได้ถ่ายภาพไว้

นกแต้วแร้วพันธุ์จีนหรือนกแต้วแร้วนางฟ้า Fairy Pitta
พบครั้งแรก ๑ ตัว ที่สวนเวฬุวัน พุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ โดย นักถ่ายภาพนกหลายคน แต่เข้าใจว่าเป็นนกแต้วแร้วอกเขียว (Hooded Pitta) และถ่ายภาพได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ แต่ยังเข้าใจว่าเป็นนกแต้วแร้วอกเขียว หลังจากนั้นจึงมีผู้ถ่ายภาพนกแต้วแล้วตัวนี้ได้อีกหลายคนในบริเวณเดิม และทราบว่าเป็นนกแต้วแร้วนางฟ้า และนกยังอยู่ในบริเวณเดิมต่อมาจนถึงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ อาจเป็นไปได้ว่านกแต้วแร้วนางฟ้าตัวนี้คงบินพลัดหลงมาถึงประเทศไทย หรือนกแต้วแร้วชนิดนี้อาจบินอพยพ ย้ายถิ่นลงมาอาศัยหากินในฤดูหนาวในประเทศไทยเป็นปรกติอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดพบ เพราะมีจำนวนน้อย และเป็นนกใกล้ถูกคุกคามของโลก หรืออาจเคยมีผู้พบเห็นแล้ว แต่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นนกแต้วแร้วธรรมดา (ขณะเกาะ) หรือ นกแต้วแร้วอกเขียว (ขณะบิน)

นกแต้วแร้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า Blue-naped Pitta
นกแต้วแร้วอีกชนิดที่น่าจะเข้ามาอยู่ในรายชื่อนกของประเทศไทย ซึ่ง แพทย์หญิงนันทวรรณ สวนคา พบที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ในเดือนมีนาคม บริเวณที่พบมีสภาพเป็น ป่าไผ่ที่เกิดขึ้นหลังจากป่าเดิมถูกโค่นถางออกไป ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานยืนยันการพบ แต่คำบรรยายลักษณะของนกก็แจ่มชัดเสียจนไม่น่าจะมีข้อสงสัยแต่ประการใด และการเข้าสู่การพิจารณาขอ งคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ก็คงเป็นเพียงการรับรองอย่างเป็นทางการเท่านั้น( แนบบทความจากกวิน ชุติมา แปล )

นกกะลิงเขียดหางหนาม Ratchet-tailed Treepie

นกสาลิกาปากดำ Black-billed Magpie

นกขี้เถ้าพันธุ์ชวา Javan Cuckooshrike

นกพญาไฟตะโพกสีน้ำตาล Brown-rumped Minivet
บางตำราใช้ว่า Swinhoe's Minivet( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกพญาไฟสีกุหลาบ Rosy Minivet Pericrocotus roseus )

นกเดินดงลายเสือใหญ่ White’s Thrush
( แยกออกมาจากนกเดินดงลายเสือ Scaly Thrush Zoothera dauma ) 

นกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese Thrush


นกเดินดงคอดำ Black-throated Thrush ( แยกออกมาจากชนิดหลักนกเดินดงคอสีเข้ม Dark-throated Thrush, นกเดินดงคอสีเข้มใช้ชื่อใหม่ว่า นกเดินดงคอแดง Red-throated Thrush Turdus ruficollis )

นกเดินดงอกลายแดง Naumann’s Thrush 
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกเดินดงอกลายดำ Dusky Thrush Turdus eunomus )

นกจับแมลงคิ้วเหลือง Narcissus Flycatcher
( ใน BG ที่ระบุเป็น Narcissus Flycatcher เปลี่ยนเป็น นกจับแมลงหลังเขียว Green-backed Flycatcher Ficedula elisae )  

นกจับแมลงพันธุ์จีน Chinese Blue Flycatcher
( แยกออกมาจากนกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม Blue-throated Flycatcher Cyornis rubeculoides )

นกจับแมลงคอสีฟ้าสด Malaysian Blue Flycatcher

นกเขนสีดำ Black Redstart 
พบ ๑ ตัว เป็นนกตัวเมียหรือนกตัวผู้วัยอ่อน ที่โครงการชลประทานแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ โดย คณะดูนกวิงส์ทัวร์ (Wings Tour) หลังจากนั้นมีผู้ไปพบและถ่ายภาพไว้ได้ และยังพบอยู่จนถึงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔  

นกเขนทะเลทราย Isabelline Wheatear

นกกิ้งโครงแกลบแก้มน้ำตาลแดง Chestnut-cheeked Starling
พบและถ่ายภาพได้ ๓ ตัวรวมอยู่ในฝูงเดียวกับนกกิ้งโครงแกลบกระหม่อมดำ (Purple-backed Starling) และนกกิ้งโครงแกลบปีกขาว (White-shouldered Starling) บนต้นไม้แห้งริมนาข้าว และต่อมานกทั้งฝูงได้บินไปหากินแมลงบนต้นกระถินณรงค์ ทางด้านหลังของสนามกีฬากลางชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๔ โดย ชูเกียรติ นวลศรี  

นกกิ้งโครงปากแดง Red-billed Starling

นกกิ้งโครงแก้มขาว White-cheeked Starling

นกเอี้ยงหงอนก้นลาย Cretsed Myna

นกไต่ไม้สีน้ำเงิน Blue Nuthatch
พบครั้งแรก ๑ ตัว และครั้งที่สอง ๒ ตัว รวมอยู่ในคลื่นนก (bird wave) เดียวกันกับนกกระจิ๊ดภูเขา (Mountain Leaf Warbler) บนภูเขาในป่าฮาลา ระดับความสูง ๑,๒๐๐ เมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดย ฟิลลิป ดี. ราวด์ และ วัชระ สงวนสมบัติ

นกนางแอ่นลาย Striated Swallow
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกนางแอ่นตะโพกแดง Red-rumped Swallow Cecropis daurica ) 

นกนางแอ่นท้องแดง Rufous-bellied Swallow
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกนางแอ่นลายอีกทีนะ Striated Swallow Cecropis striolata )

นกพงนาพันธุ์แมนจูเรีย Manchurian Reed Warbler 
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกพงนาพันธุ์หิมาลัย Paddyfield Warbler Acrocephalus agricola )

นกพงนาพันธุ์อินเดีย Blyth's Reed Warbler
ดักตาข่ายได้นก ๑ ตัว ที่เกาะวัด บึงบอระเพ็ด จ. นครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (สถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด)

นกพงปากยาว Large-billed Reed Warbler
ดักตาข่ายได้นกชนิดนี้ ๑ ตัว ที่แหลมผักเบี้ย จ. เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฟิลลิป ราวด์ และสมชาย นิ่มนวล) และดักได้นกตัวเดิมอีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (สมชาย นิ่มนวล) ล่าสุดพบที่น้ำคำ จ.เชียงราย( นกชนิดไม่พบบนโลกมานานกว่า ๑๓๙ ปีมาแล้วครั้งสุดท้ายที่ประเทศอินเดีย )

นกกระจิ๊ดตะโพกเหลืองคิ้วขาว Lemon-rumped Warbler
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกกระจิ๊ดตะโพกเหลืองคิ้วเหลือง Pallas's Leaf Warbler Phylloscopus proregulus )

นกกระจิ๊ดพันธุ์จีน Chinese Leaf Warbler 
แยกออกมาภายหลัง นกกระจิ๊ดพันธุ์หิมาลัย Hume's Leaf Warbler ( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกกระจิ๊ดธรรมดา Yellow-browed Warbler Phylloscopus inornatus ) เมื่อก่อนเคยเรียกชื่อว่า นกกระจิ๊ดคิ้วสีเนื้อ

นกกระจิ๊ดหางขาวท้องเหลือง Kloss's Leaf Warbler
( แยกออกมาจากชนิดหลักนกกระจิ๊ดหางขาวเล็ก ในชื่อใหม่ Davison's Leaf-Warbler เปลี่ยนจาก White-tailed Leaf Warbler Phylloscopus davisoni ) พบทางภาคตะวันออกของไทยแถบจังหวัดจันทบุรี, สระแก้ว, ตราด ฯลฯ 

นกกระจิ๊ดภูเขา Mountain Leaf Warbler
พบ ๑ ตัว รวมอยู่ในคลื่นนก (bird wave) เดียวกันกับนกไต่ไม่สีน้ำเงิน (Blue Nuthatch) บนภูเขาในป่าฮาลา ระดับความสูง ๑,๒๐๐ เมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๕ โดย ฟิลลิป ดี. ราวด์ และ วัชระ สงวนสมบัติ( ข้อมูลจากพี่นกตะวันจ้า )

นกกระจ้อยวงตาสีทองหัวเทา Grey-crowned Warbler

นกกระจ้อยวงตาสีทองพันธุ์จีน Emei Shan Warbler

นกกระจ้อยวงตาสีทองหางสีเรียบ Plain-tailed Warbler


นกกระจ้อยวงตาสีทองแถบปีกเหลือง Bianchi's Warbler

หมายเหตุ ...นกกระจ้อยวงตาสีทองทุกชนิดหลักใหม่ แยกออกมาจากนกกระจ้อยวงตาสีทอง Golden-spactacled Warbler ชนิดหลักเดิม S.burkii

นกกะรางดำ Black Laughingthrush


นกกะรางวงตาขาว Spectacled Laughingthrush

นกกะรางหัวแดงมลายู Malayan Laughingthrush
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกกะรางหัวแดง Chestnut-crowned Laughingthrush Trochalopteron melanostigma )

นกระวังไพรหลังแดง Chestnut-backed Scimitar-Babbler

นกจู๋เต้นลายจุด Spotted Wren Babbler
ได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้อย่างน้อย ๒ ตัว และยังพบนกหนึ่งตัวในป่าที่ระดับความสูง ๑,๙๓๐-๑,๙๕๐ เมตรของดอยลาง อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (อุทัย ตรีสุคนธ์, โรส-แอน โรว์เล็ต และคณะ) และยังมีนักดูนกอีกหลายคนที่พบเห็นนกชนิดใหม่นี้ในบริเวณเดิม( ข้อมูลจากสมาคม ฯ )

นกจู๋เต้นหางยาว Grey-bellied Wren Babbler
พบ ๒ คู่ และได้ยินเสียงอีก ๑ ตัว บนยอดเขาสูงสุด ระดับความสูง ๒,๑๕๒ เมตร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ ๒๔–๒๕ เมษายน ๒๕๔๔ โดย ฟิลลิป ดี. ราวด์

นกนกมุ่นรกหน้าผากสีน้ำตาล Rusty-capped Fulvetta

พบหลายฝูงๆ ละ ๙-๑๐ ตัว และถ่ายภาพไว้ได้ บนดอยโมโกจู ตั้งแต่ระดับความสูง ๑,๖๐๐ เมตรจนเกือบถึงยอดสูงสุด คือ ๑,๙๖๐ เมตร ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ โดย วัชระ สงวนสมบัติ โดม ประทุมทอง กฤษณ์ มุติตาภรณ์ บารมี เต็มบุญเกียรติ และเสาร์วดี มังกรศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาได้พบอีกครั้งบนยอดเขาสูงสุด ระดับความสูง ๒,๑๕๒ เมตร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ เมษายน ๒๕๔๔ โดย ฟิลลิป ดี. ราวด์( ปล.พบง่ายสุด ๆ บนยอดโมโกจู อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์

นกมุ่นรกภูเขา Mountain Fulvetta 
แก้ไขชื่อใน BG เป็น Black-browed Fulvetta นกมุ่นรกคิ้วดำ เป็นชนิดที่พบอยู่เดิมในภาคตะวันออก ส่วนมุ่นรกภูเขาพบในภาคใต้

นกเด้าลมแม่น้ำโขง Mekong Wagtail
นกชนิดใหม่ของโลก พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในกัมพูชาด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ลาวตอนใต้ และไทยตามแนวชายแดนด้านตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ใน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ โดย วิลเลียม ดัคเวิร์ท (William Duckworth) เพอร์ อัลสตรอม (Per Alstrom) และคณะ และวิเคราะห์ว่าเป็นนกชนิดใหม่ไว้ใน Bulletin of the British Ornithologist’s Club ซึ่งได้รายงานไว้ใน Cambodia Bird News ฉบับที่ ๗ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๔๔

นกเด้าดินทุ่งเล็ก Paddyfield Pipit
( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกเด้าดินทุ่ง Richard’s Pipit Anthus richardi ) เป็นนกประจำถิ่นที่มีโอกาสพบได้บ่อยมาก ๆ

นกเด้าดินทุ่งพันธุ์รัสเซ๊ย Blyth's Pipit

นกเด้าดินพันธุ์ไซบีเรีย Buff-bellied Pipit 

นกจาบปีกอ่อนหัวเทาอกชมพู Chaffinch
มีรายงานการพบที่เชียงแสน จ.เชียงราย

นกจาบปีกอ่อนอกส้ม Brambling
มีรายงานการพบที่ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่

นกจาบปีกอ่อนหัวแดง Red-headed Bunting
พบโดยอายุวัต ที่ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

นกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัย Himalayan Bluetail
มีคิ้วสีฟ้า ( แยกออกมาจากชนิดหลัก นกเขนน้อยข้างสีส้ม )
สงวนสิขสิทธิ์ภาพถ่ายและบทความ ออกแบบและจัดทำโดย มงคล แก้วเทพ แนะนำติชม [email protected]